THE IMMUNE LAB

มาตรฐานการทดสอบผลิตภัณฑ์ IMMUNE LAB เบต้ากลูแคน

        ในเชิงวิทยาศาสตร์นั้น เบต้ากลูแคนคือ น้ำตาลกลูโคสเชิงเดี่ยว มีโมเลกุลเป็นรูปวงแหวนมาต่อกันเป็นเส้นตรงยาว ซึ่งเรียก Glucan โดยโมเลกุลในแต่ละห่วงกลูโคสตัวต้นจับกับห่วงของกลูโคสตัวถัดไปที่ตำแหน่งคาร์บอนต่างๆ กันแล้วแต่ชนิด การเชื่อมของโมเลกุลน้ำตาลกลูโคสตัวถัดไปกับกลูโคสด้วยกัน มีชื่อว่า Glycoside Linkage คำว่า เบต้า (Beta หรือย่อว่า B) หมายถึง หางของ OH (Hydroxyl) ชี้ขึ้นข้างบนจากแนว

รูปโครงสร้างโมเลกุลของน้ำตาลกลูโคส

(C คือ อะตอมของคาร์บอน และ ตัวเลขที่กำกับอยู่คือลำดับของคาร์บอนในโมเลกุลของน้ำตาลกลูโคส)

ดังนั้นประสิทธิภาพของเบต้ากลูแคนนั้นจึงขึ้นกับโครงสร้างของโมเลกุลที่แตกต่างกัน และความแตกต่างของโครงสร้างเบต้ากลูแคนแต่ละชนิดสามารถดูได้จาก
  1. โครงสร้างโมเลกุลของกิ่งพันธะย่อย (1,3/1,4 หรือ 1,3/1,6)
    ถ้าเป็นพันธะ 1,6 จะมีประสิทธิภาพในเรื่องของภูมิคุ้มกัน เพราะพันธะนี้จะทำงานร่วมกับเม็ดเลือดขาวได้ จึงส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น ส่วนพันธะ 1,4 นั้น จะเน้นเรื่องของกากใย ช่วยระบายขับถ่าย ลดน้ำหนัก เบาหวาน และคอเรสเตอรอล ทาง IMMUNE LAB® ใช้ยีสต์สายพันธุ์ Saccharomyces Cerevisiae ซึ่งเป็นยีสต์ที่สกัดออกมาได้สายพันธุ์ 1,3/1,6 และเป็นสายพันธุ์พิเศษที่มีงานวิจัยรับรองในการทำงานร่วมกับเซลล์เม็ดเลือดขาว
  2. ความยาวและความถี่ของพันธะสายแขนง (1,6)ความยาวของพันธะ 1,6
    ถ้ามีความยาวของโมเลกุลที่ต่อกันยาวก็จะช่วยทำให้เบต้ากลูแคนมีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยทั่วไปที่มีการสกัดเบต้ากลูแคนจะมีค่าอยู่ที่ 2-3 โมเลกุลต่อเนื่องของพันธะ 1,6 ส่วนความถี่ของพันธะสายแขนง (1,6) ยิ่งมีความถี่สูง ยิ่งมีการทำงานกับเซลล์เม็ดเลือดขาวได้ดีที่สุด ทาง IMMUNE LAB® ได้ใช้กระบวนการตามมาตราฐานสากลคือ Smith degradation  (เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่แตกโครงสร้างของสารประเภทคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ออกมาเป็นหน่วยย่อยลงเพื่อดูส่วนประกอบ) ซึ่งผลลัพท์ของ IMMUNE LAB® จะมีความยาวประมาณ 3-6 โมเลกุลของกลูโคสที่ต่อกันของพันธะ 1,6 และความถี่ของพันธะ 1,6 ที่ 0.2-0.33 ซึ่งเป็นค่าที่แสดงถึงประสิทธิภาพที่สูงมาก (โดยทั่วไปความยาวของพันธะ 1,6 ที่สกัดได้จากยีสต์ขนมปังจะอยู่ที่ 1-2 โมเลกุล และมีความถี่ของพันธะ 1,6 ที่ 0.03-0.1 หรือบางแหล่งอาจไม่ได้มีการทดสอบ)
  3. ความบริสุทธิ์ของสารเบต้ากลูแคน
    ความบริสุทธิ์ของสารเบต้ากลูแคนที่สกัดได้ ย่อมเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้ทางผู้บริโภคแน่ใจว่าได้สารสำคัญไป เพียงแต่การสกัดสารเบต้ากลูแคนออกจากยีสต์นั้นไม่มีทางสกัดออกได้ 100% ส่วนที่ติดมาจากผนังเซลล์ยีสต์อาจมี โปรตีนและไขมันติดมาด้วย ดังนั้นความบริสุทธิ์ของสารสกัดที่ได้จึงควรมีการทดสอบยืนยัน ทาง IMMUNE LAB® ทดสอบความบริสุทธิ์ของสารเบต้ากลูแคนโดยการวัดค่าคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนจากเครื่องมือ Fourier Transform Infrared Spectroscopy (เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูงที่ใช้แยกสารที่ไม่รู้ข้อมูล โดยใช้เทคนิคการกระตุ้นสารด้วยพลังงานแสงช่วงแสงอินฟราเรด (Infrared light) ที่ความยาวคลื่นต่าง ๆ โดยโมเลกุลของสารจะดูดกลืนแสงอินฟราเรดเข้าไปจะทำให้พันธะในโมเลกุลเกิดการสั่น ซึ่งสารอินทรีย์แต่ละชนิดจะมีค่าความถี่ของการสั่นที่จำเพาะและแตกต่างกันไป จึงใช้เปรียบเทียบกับฐานข้อมูลและใช้ในการคัดแยกสารได้) ซึ่งค่าปริมาณเบต้ากลูแคนของ IMMUNE LAB® อยู่ที่ประมาณ 85-95 % ส่วนสารเจือปนที่ติดมาจะมีกระบวนการกำจัด เช่นโปรตีน (โดยโปรตีนที่มีอันตรายต่อมนุษย์เช่น แมนโนโปรตีนต้องถูกกำจัดทิ้งทั้งหมด) โดยผลิตภัณฑ์ของ IMMUNE LAB® ได้รับการตรวจสอบสิ่งปนเปื้อนประเภทโปรตีนด้วยวิธี BCA Assay (Bicinchoninic Acid) ซึ่งเป็นกระบวนการทดสอบโปรตีนที่มีความละเอียดที่สุด ซึ่งจากการทดสอบจะมีสารโปรตีนตกค้างอยู่แค่ 1.2%* ซึ่งโปรตีนที่ตกค้างนี้เป็นโปรตีน In-Active กล่าวคือ จะไม่เป็นอันตรายแก่ร่างกาย ไม่ใช่เป็นแมนโนโปรตีน (mannoprotein) ที่มีผลข้างเคียงได้หรือทำให้เกิดการแพ้ได้
  4. ขนาดอนุภาค
    จากการวิจัยพบว่าเซลล์สำคัญในระบบภูมิคุ้มกันมีจำเพาะ (Receptor) ที่มีเบต้ากลูแคนเท่านั้นที่สามารถเข้าไปกระตุ้นเพื่อสนับสนุนระบบภูมิคุ้มกันของเราได้ ซึ่งตัว Receptor นี้ จะมีพื้นที่ประมาณ 2-5 ไมครอน ในการยึดจับกับอนุภาคเบต้ากลูแคน ดังนั้น ขนาดอนุภาคเบต้ากลูแคนที่ใหญ่เกินไปอาจจะทำให้การดูดจับสารเบต้ากลูแคนไม่เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และทั้งยังสามารถกลับมารวมกันเป็นอนุภาคที่ใหญ่ขึ้น และไม่สามารถดูดซึมได้เลย อย่างไรก็ตาม เรื่องขนาดอนุภาคของเบต้ากลูแคนก็ยังมีการถกเถียงจากคณะวิจัยหลายคณะว่า อาจไม่ส่งผลถึงประสิทธิภาพการทำงานได้จริง ๆ ถึงแม้จะสกัดให้เล็กลงกว่าเดิมได้โดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูงที่มีในปัจจุบันก็อาจไม่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะจริง ๆ แล้ว ร่างกายเราก็มีเอนไซม์ที่จะแตกเบต้ากลูแคนให้เล็กลงได้เองอยู่แล้ว โดยไม่จำเป็นต้องไปพึ่งกระบวนการสกัดที่ทำให้อนุภาคเล็ก ดังนั้นการไปทำให้อนุภาคเล็กอาจเป็นการสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์ และที่สำคัญขนาดอนุภาคที่มีงานวิจัยว่า เม็ดเลือดจะทำงานได้ดีนั้นอยู่ที่ประมาณ 1-5 ไมครอน* ดังนั้นการสกัดที่ทำให้อนุภาคเล็กมากไปกว่านี้อาจไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์โดยตรงต่อประสิทธิภาพ ถึงแม้จะมีการถกเถียงจากหลายฝ่าย เรื่องขนาดอนุภาคเบต้ากลูแคนที่มีผลต่อประสิทธิภาพ และเรื่องเอนไซม์ในร่างกายที่จะแตกเบต้ากลูแคนให้เล็กลงได้ แต่ต้องอย่าลืมว่า ในผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ เอนไซม์ต่างๆอาจมีน้อยลง ไปจนถึงทำงานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นถ้าขนาดของเบต้ากลูแคนที่ได้มีค่าเฉลี่ยที่เม็ดเลือดขาวสามารถใช้งานได้เลยนั้นก็น่าจะเกิดประโยชน์ได้สูงสุด ทางทีมพัฒนาของ IMMUNE LAB® ได้ทดสอบขนาดอนุภาคของเบต้ากลูแคนที่สกัดได้โดยใช้เครื่อง SEM (Scanning Electron Microscope) เพื่อตรวจดูขนาด โดยมีค่าอยู่ที่ประมาณ 2-5 ไมครอน
ภาพตัวอย่างการวัดขนาดอนุภาคเบต้ากลูแคนด้วยเครื่อง SEM
error: IMMUNE LAB