THE IMMUNE LAB

หลักการเลือกผลิตภัณฑ์เบต้ากลูแคน ​

      เบต้ากลูแคน จัดเป็นอาหารเสริมในประเทศไทยเมื่อไม่นานมานี้ แต่สำหรับในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา มีการศึกษาทดลองในสถาบันวิจัยต่างๆ มาเป็นเวลานานกว่า ทศวรรษ โดยพบว่าเป็นสารกระตุ้นการตอบสนอง ภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยมีมา

      เบต้ากลูแคนที่มีจำหน่ายอยู่ในประเทศนั้นมีมากมายหลากหลายชนิด และมีราคาที่หลากหลาย ซึ่งส่วนใหญ่จะนำเข้ามาจากต่างประเทศ โดยมีผลิตภัณฑ์จำนวนมากที่อ้างว่ามีเบต้ากลูแคนชนิด Beta 1,3/1,6 D Glucan glucan (เบต้ากลูแคนชนิดที่มีประสิทธิภาพสูงสุด) เป็นส่วนประกอบ ซึ่งข้ออ้างดังกล่าว เหมารวมเอาประโยชน์หลายอย่างของสารประกอบดังกล่าวเข้าไปด้วย แต่ผลจากการศึกษาวิจัยในเรื่องนี้ พอสรุปได้ว่า ผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่ามีส่วนประกอบของ Beta 1,3/1,6 D Glucan เหล่านั้นไม่เหมือนกัน มีจำนวนมากที่พบว่ามีส่วนประกอบของ Beta 1,3/1,6 D Glucan แต่เพียงเล็กน้อย หรือไม่ก็ได้มาจากการใช้กระบวนการสกัดที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ด้อยคุณภาพ ในทางตรงกันข้ามยังมีโอกาสก่อให้เกิดปฏิกิริยาที่เลวร้ายขึ้น เช่น yeast infection เป็นต้น

       ผลิตภัณฑ์ที่ด้อยคุณภาพดังกล่าวไม่สามารถกระตุ้นหน่วยรับความรู้สึกต่อเบต้ากลูแคนได้ เนื่องจาก Beta 1,3/1,6 D glucan ถูกเคลือบด้วยสิ่งแปลกปลอมที่ปนมา ในบางครั้งสิ่งแปลกปลอมที่ปนมาอาจทำให้ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ลดลง ดังนั้นผู้บริโภคควรมีวิธีสังเกตและมีหลักการในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ดังนี้

1. ชนิดของเบต้ากลูแคน

    เมื่อพูดถึงผลิตภัณฑ์เบต้ากลูแคนที่มีประสิทธิภาพต้องหมายถึง ผลิตภัณฑ์เบต้ากลูแคนที่เป็นสายพันธุ์ 1,3/1,6 D Glucan ที่มาจากยีสต์ Saccharomyces cerevisiaeรือ ยีสต์ขนมปัง เพราะพันธะจากยีสต์ขนมปัง เป็นเบต้ากลูแคนที่มีการศึกษาวิจัยมากที่สุด และได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นสารที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการสนับสนุนระบบภูมิคุ้มกันเท่าที่เคยค้นพบ เบต้ากลูแคนสายพันธุ์อื่น เช่น สายพันธุ์ 1,3/1,6 ที่สกัดจากแหล่งอื่น หรือ สายพันธุ์ 1,3/1,4 อาจจะไม่มีศักยภาพเหมือน Beta 1,3/1,6 D Glucan ที่มาจากยีสต์ขนมปัง ดังนั้นสิ่งที่ต้องพิจารณาในการซื้อผลิตภัณฑ์ คือ “มีส่วนประกอบของ Beta 1,3/1,6 D Glucan จากยีสต์ขนมปังหรือไม่”

2. สายพันธุ์ที่เลือกใช้

     ถึงแม้ว่าเบต้ากลูแคนที่มีประสิทธิภาพสูงนั้นจะสกัดมาจาก ยีสต์ Saccharomyces cerevisiae หรือ ยีสต์ขนมปัง แต่ยีสต์ Saccharomyces cerevisiae เองนั้นก็มีสายพันธุ์ย่อย (Strain) ที่แตกต่างกัน ดังนั้น การเลือกเบต้ากลูแคนที่มีประสิทธิภาพควรเลือกสายพันธุ์ที่มีงานวิจัยรับรอง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์จำเพาะที่เลี้ยงขึ้นมาเอง

3. ลักษณะโครงสร้างทางโมเลกุล

   เนื่องจากเบต้ากลูแคนเป็นสารชีวโมเลกุล (หมายถึง สารอินทรีย์ที่เป็นองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต หรือ สารธรรมชาติ ซึ่งแต่ละชนิดมีขนาด โครงสร้าง คุณสมบัติ และปฏิกิริยาที่แตกต่างกัน) ดังนั้นโครงสร้างทางโมเลกุลจึงเป็นสิ่งสำคัญที่บ่งบอกถึงประสิทธิภาพในการทำงาน จากงานวิจัยของ Biao Han และคณะ* ได้รวบรวมข้อมูลประสิทธิภาพของเบต้ากลูแคนแต่ละชนิดตามสายพันธุ์ที่สกัดได้และสรุปว่า เบต้ากลูแคนสายพันธุ์ 1,3/1,6 จากยีสต์ขนมปัง จะมีประสิทธิภาพสูงกว่า เบต้ากลูแคนสายพันธุ์ 1,3/1,6 ที่มาจากเห็ด เนื่องจากพันธะ 1,6 ที่สกัดมาจากยีสต์จะมีโมเลกุลต่อเนื่องที่ยาวกว่าที่มาจากเห็ด จึงเรียกเบต้ากลูแคนที่สกัดจากยีสต์ขนมปังว่าเป็นโมเลกุลสายยาว (Long Chain) และ เรียกเบต้ากลูแคนที่สกัดจากเห็ดว่าเป็นโมเลกุลสายสั้น (Short Chain) ซึ่งจากงานวิจัยพบว่า เบต้ากลูแคนโมเลกุลสายยาวที่สกัดจากยีสต์ขนมปังจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาว หรือ ระบบภูมิคุ้มกันได้มีประสิทธิภาพดีกว่า เบต้ากลูแคนโมเลกุลสายสั้นที่สกัดจากเห็ด หลายเท่า

     นอกจากนี้ทีมวิจัยของ Biao Han ยังสรุปว่า พันธะ 1,6 นั้นเป็นตัวกลไกสำคัญในการทำงานกับตัวรับ (Receptor) ของเม็ดเลือดขาว โดยพบว่า เบต้ากลูแคนที่มีประสิทธิภาพต่อระบบภูมิคุ้มกันนั้นต้องมีความถี่ของพันธะ 1/6 ต่อ พันธะ 1,3 หรือที่เรียกเป็นทางเทคนิคว่า “Branching Ratios หรือ Degree of Branching” ที่ประมาณ 0.2-0.33 ความหมายง่ายๆคือ ต้องมีพันธะ 1,6 ทุกๆ 3-5 โมเลกุลของพันธะ 1,3 ซึ่งเบต้ากลูแคนที่สกัดจากยีสต์เหมือนกันแต่ถ้า Branching Ratio สูง คือมีพันธะ 1,6 มาก ก็จะส่งผลถึงการทำงานกับเม็ดเลือดขาวได้มากขึ้น

4. ความบริสุทธิ์และสารเจือปน

 

       ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากกระบวนการผลิตและวิธีการผลิตที่มีประสิทธิภาพต่ำ และ ไม่ได้มาตราฐานจะทำให้สิ่งเจือปนที่เป็นผลพลอยได้ (by products) ในการสกัดเบต้ากลูแคนนั้นมีอยู่ในปริมาณสูง เช่น mannoprotein (โปรตีน) และ lipid (ไขมัน)  ซึ่ง สาร mannoprotein นี้ อาจทำให้เกิดผลร้าย เช่นโรคสำไส้แปรปรวน (lrritable Bowel Syndrome : IBS) และโรคติดเชื้อจากยีสต์ หรือ เกิดอาการแพ้ยีสต์ได้ ส่วน lipids นั้นจะกีดกั้นที่ตั้งของตัวจับหรือตัวรับสิ่งแปลกปลอมบน Macrophage ซึ่งทำหน้าที่เหมือนกำแพงกั้นระหว่างโมเลกุลของ 1,3 D Glucan กับ ที่ตั้งของ Macrophage ทั้งนี้ lipids เป็นสารที่ไม่มีปฏิกิริยาที่เลวร้าย เพียงแต่มีผลต่อประสิทธิภาพของเบต้ากลูแคนลดลง โปรตีน โดยเฉพาะ mannoprotein เป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์ชั้นนอกและชั้นในของยีสต์ ที่จะทำให้เกิดการแพ้ยีสต์ในมนุษย์

          ในทางปฎิบัตินั้นเป็นไปไม่ได้ที่จะแยกเอาสิ่งเจือปนเหล่านี้ออกมาได้ทั้งหมด แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ต้องทำลาย ทิ้งทั้งหมด เพื่อให้ผู้ที่แพ้ยีสต์สามารถรับประทานได้

         สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาอีกปัจจัยหนึ่งได้แก่ ความบริสุทธิ์ หรือพูดอีกนัยนึงคือ ปริมาณของ เบต้ากลูแคนชนิด 1,3/1,6 D Glucan เป็นส่วนประกอบมากน้อยเพียงใด จากข้อมูลของ องค์กรการความปลอดภัยของอาหารแห่งยุโรป (European Food Safety Authority) และจากเอกสารงานวิจัยทางการแพทย์ที่ผ่านมา แนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์เบต้ากลูแคนที่มีความบริสุทธิ์ไม่ต่ำกว่า 70% หรือ ควรมีองค์ประกอบของ สารเบต้ากลูแคน ไม่ต่ำกว่า 70% ยิ่งผลิตภัณฑ์มีเปอร์เซ็นต์ของเบต้ากลูแคนสูงขึ้นก็จะยิ่งมีศักยภาพในการสนับสนุนการตอบสนองของภูมิคุ้มกันสูงขึ้น

          แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากขึ้นในปัจจุบัน การสกัดสารเบต้ากลูแคนให้บริสุทธิ์มากขึ้นนั้นไม่ได้เป็นสิ่งที่ยากเย็นเหมือนเมื่อ10 ปีที่แล้ว ดังนั้นถ้าผู้บริโภคจะเลือกซื้อควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เบต้ากลูแคนที่มีบริสุทธิ์ไม่ต่ำกว่า 80 % และเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องผ่านการทดสอบมาอย่างถูกต้อง

5. ขนาดอนุภาค

 
           จากการวิจัยพบว่าเซลล์สำคัญในระบบภูมิคุ้มกันมีหน่วยรับ จำเพาะ (Receptor)  ที่มี เบต้ากลูแคนเท่านั้นที่สามารถเข้าไปกระตุ้นเพื่อสนับสนุนระบบภูมิคุ้มกันของเราได้ ซึ่งตัว นี้จะมีพื้นที่ประมาณ 2-5 ไมครอนในการยึดจับกับอนุภาคเบต้ากลูแคน ดังนั้น ขนาดอนุภาคเบต้ากลูแคนที่ใหญ่เกินไปอาจจะทำให้การดูดจับสารเบต้ากลูแคนไม่เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และทั้งยังสามารถกลับมารวมตัวกันเป็นอนุภาคที่ใหญ่ขึ้นและไม่สามารถดูดซึมได้เลย

             แต่ถึงอย่างไรก็ตาม เรื่องขนาดอนุภาคของเบต้ากลูแคนก็ยังมีการถกเถียงจากคณะวิจัยหลายคณะว่าอาจไม่ส่งผลถึงประสิทธิภาพการทำงานได้จริงๆ ถึงแม้จะสกัดให้เล็กลงกว่าเดิมได้โดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูงที่มีในปัจจุบันก็อาจไม่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะจริงๆแล้ว ร่างกายเราก็มีเอนไซม์ที่จะแตกเบต้ากลูแคนให้เล็กลงได้เองอยู่แล้ว โดยไม่จำเป็นต้องไปพึ่งกระบวนการสกัดที่ทำให้อนุภาคเล็ก ดังนั้นการไปทำให้อนุภาคเล็กอาจเป็นการสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์ และที่สำคัญขนาดอนุภาคที่มีงานวิจัยว่า เม็ดเลือดจะทำงานได้ดีนั้นอยู่ที่ประมาณ 1-5 ไมครอนดังนั้นการสกัดที่ทำให้อนุภาคเล็กมากไปกว่านี้อาจไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์โดยตรงต่อประสิทธิภาพ แต่ประโยชน์ที่ได้อาจจะเป็นการนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นทางการแพทย์ เช่น การนำไปฉีดเข้าทางเส้นเลือด หรือ กล้ามเนื้อโดยตรง เป็นต้น

          ถึงแม้จะมีการถกเถียงจากหลายฝ่ายเรื่องขนาดอนุภาคเบต้ากลูแคนที่มีผลต่อประสิทธิภาพและเรื่องเอนไซม์ในร่างกายที่จะแตกเบต้ากลูแคนให้เล็กลงได้ แต่ต้องอย่าลืมว่าในผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ เอนไซม์ต่างๆอาจมีน้อยลงไปจนถึงทำงานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นถ้าขนาดของเบต้ากลูแคนที่ได้มีค่าเฉลี่ยที่เม็ดเลือดขาวสามารถใช้งานได้เลยนั้นก็น่าจะเกิดประโยชน์ได้สูงสุด

โดยสรุปเมื่อผู้บริโภคเลือกซื้อ ปัจจัยหลักๆในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เบต้ากลูแคน จึงต้องคำนึง ชนิดแหล่งที่มา ความบริสุทธิ์ ปริมาณของเบต้ากลูแคนที่มีประสิทธิภาพ โครงสร้างโมเลกุลจำเพาะ (ความยาวและความถี่ของพันธะ 1,6) รวมทั้งขนาดของอนุภาค และที่สำคัญควรมีงานวิจัยรองรับผลและมีผลวิเคราะห์จากห้องปฏิบัติการที่เชื่อถือได้จะช่วยได้ดีขึ้น
error: IMMUNE LAB